XStore theme eCommerce WordPress Themes XStore wordpress support forum best wordpress themes WordPress WooCommerce Themes Premium WordPress Themes WooCommerce Themes WordPress Themes wordpress support forum Best WooCommerce Themes XStore WordPress Themes XStore Documentation eCommerce WordPress Themes

ค้นพบ “เทอโรซอร์” ตัวแรกของไทย สัตว์เลี้อยคลานบินได้ร่วมยุคไดโนเสาร์ การูแดปเทอรัส บุฟโตติ อายุ 130 ล้านปี

ค้นพบ “การูแดปเทอรัส บุฟโตติ” (Garudapterus buffetauti) เทอโรซอร์ชนิดใหม่ของโลกและเป็นชนิดแรกที่พบในประเทศไทย จากแหล่งซากดึกดำบรรพ์พระปรง จังหวัดสระแก้ว ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลชิ้นสำคัญคือส่วนปลายขากรรไกรบนจากชั้นหินหมวดเสาขัว อายุราว 130 ล้านปี แม้เทอโรซอร์ไม่ใช่ไดโนเสาร์เจ้าแห่งพื้นดินแต่โดดเด่นไม่แพ้กันเพราะเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่วิวัฒนาการสามารถบินได้เป็นกลุ่มแรกของโลก ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ตัวเท่านกน้อยไปจนถึงสูงใหญ่เท่ายีราฟ

การค้นพบ “การูแดปเทอรัส บุฟโตติ” เป็นสกุลใหม่และชนิดพันธุ์ใหม่ของเทอโรซอร์ในระดับโลก และเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยตีพิมพ์ในวารสาร Cretaceous Research เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เทอโรซอร์ชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มเทอโรแดคทิลลอยด์ (Pterodactyloidea) วงศ์นาโธซอรีน (Gnathosaurinae) มีลักษณะเด่นคือปลายปากแผ่กว้างคล้ายนกปากช้อน มีเบ้าฟันยื่นออกและฟันแหลมเรียว ซึ่งเหมาะสำหรับการจับปลา ความกว้างของปีกประมาณ 2.5 เมตร นอกจากนี้ ชื่อ “การูแดปเทอรัส” มาจากคำว่า “การูแดปเทอรัส” (ปีกครุฑ) และ “บุฟโตติ” ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.เอริก บุฟโต นักบรรพชีวินวิทยาชาวฝรั่งเศสผู้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทยมากว่า 40 ปี ความสำคัญของการค้นพบนี้นอกจากจะเติมเต็มความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศยุคครีเทเชียสแล้ว ยังช่วยขยายขอบเขตการกระจายทางภูมิศาสตร์ของเทอโรซอร์กลุ่ม Gnathosaurinae สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

กรมทรัพยากรธรณี​ เป็นหน่วยงานหลักด้านการศึกษาวิจัยและบริหารจัดการซากดึกดำบรรพ์ และได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551 ขึ้น เพื่อคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติ ความเป็นมาของโลกบรรพชีวินธรณีวิทยา ซึ่งแหล่งซากดึกดำบรรพ์และซากดึกดำบรรพ์ ถือเป็นสมบัติของแผ่นดิน ที่ต้องอนุรักษ์ให้เป็นมรดกทางธรรมชาติของแผ่นดิน
​ด้วยการนี้จึงมีแนวทางการบริหารจัดการในพื้นที่แหล่งไดโนเสาร์​ ด้วยประกาศให้เป็นเขตพื้นที่การสำรวจศึกษาวิจัยและพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดสระแก้ว และเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์อ่างเก็บน้ำพระปรงในเวลาต่อมา

การค้นพบสัตว์เลื้อยคลานบินได้หรือเทอโรซอร์ (Pterosaur) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย “การูแดปเทอรัส บุฟโตติ” (Garudapterus buffetauti) จัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ที่ผ่านมา โดยศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม การแถลงข่าวครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, รองศาสตราจารย์ ดร.มงคล อุดชาชน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ และดร.ศิตะ มานิตกุล นักวิจัยผู้ค้นพบ